การดำเนินคดีอาญาตามกฎหมายเลือกตั้ง

หมายเหตุ บทความนี้ เป็นเอกสารบันทึกหัวข้อที่ใช้อบรมเจ้าหน้าที่ ซึ่งสังกัดคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัด ในการสัมมนาที่คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดขึ้นที่ จ.ปทุมธานี

 

สถานะของกฎหมายเลือกตั้งภายหลังการยึดอำนาจการปกครอง

  • คณะปฎิรูปการปกครองฯ ได้ออกประกาศ ให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พศ. 2540 สิ้นสุดลง ให้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาสิ้นสุดลง แต่ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งชุดเดิม ทำหน้าที่ต่อไป
  • โดยเฉพาะคือ การทำหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546

หัวข้อ

  1. โทษทางอาญาเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
  2. แนวทางการดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง
  3. วิธีการดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำผิด

วัตถุประสงค์และลักษณะพิเศษของกฎหมายเลือกตั้ง

  • ตามมาตรา 11
  • สุจริต ไม่มีการโกง การใช้เงินซื้อเสียง ฯลฯ
  • เที่ยงธรรม ไม่มีการกลั่นแกล้ง ใส่ร้ายป้ายสี เอารัดเอาเปรียบ ฯลฯ
  • เรียบร้อย ไม่มีความปั่นป่วน วุ่นวาย
  • เป็นกฎหมายมหาชน ถือการคุ้มครองประโยชน์ของมหาชนเป็นหลักยิ่งกว่าเอกชน

ใบเหลืองและใบแดงตามกฎหมายเลือกตั้ง

  • ใบเหลือง คือ มติคณะกรรมการการเลือกตั้งให้จัดการเลือกตั้งใหม่ (มาตรา 95)
  • ใบแดง คือ มติคณะกรรมการการเลือกตั้งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งหนึ่งปีและให้จัดการเลือกตั้งใหม่ (มาตรา 96)
  • มติ กกต.เกี่ยวกับใบเหลืองและใบแดง ไม่ใช่คำวินิจฉัยว่าผู้สมัครทำผิดทางอาญา เว้นแต่จะมีพยานหลักฐาน ฯลฯ

กฎหมายอาญากับการเลือกตั้ง

  • “No crime, No punishment, without Law”

ไม่มีกฎหมาย ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ

  • Due Process of Law

หลักนิติธรรมตามวิธีพิจารณาความอาญา

1. โทษทางอาญาเกี่ยวกับการเลือกตั้ง สามารถจำแนกประเภทความผิดที่มีโทษทางอาญาได้ตามพฤติการณ์ที่พบว่ามีการร้องเรียนการกระทำความผิด ดังนี้

  • การกระทำความผิดของผู้สมัครรับเลือกตั้งเองหรือผู้สนับสนุน
  • การกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่
  • การกระทำความผิดของบุคคลอื่นโดยทั่วไป


การกระทำความผิดของผู้สมัครรับเลือกตั้งเองหรือผู้สนับสนุน
เช่น

  • ตามมาตรา 57
  • การ จัดทำ ให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ แก่ผู้ใดหรือแก่ชุมชน วัด สถานศึกษา (1) และ (2)
  • หาเสียงด้วยการจัดให้มีมหรสพหรือการรื่นเริงต่าง ๆ (3)
  • เลี้ยงหรือรับจะจัดเลี้ยง (4)
  • หลอกลวง บังคับ ข่มขู่ ใช้อิทธิพลคุกคาม ใส่ร้าย (5)
  • การจัดยานพาหนะรับและหรือส่งผู้ใช้สิทธิ ตามมาตรา 58


การกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่

  • ใช้ตำแหน่งหน้าที่กระทำการใด ๆ อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัคร (มาตรา 60) เช่น ลงชื่อแทนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยทุจริต แจ้งจำนวนผู้มาแสดงตนเพื่อใช้สิทธิเลือกตั้งโดยผิดจากความเป็นจริง การกาบัตรเลือกตั้งที่เหลืออยู่โดยทุจริต ฯลฯ
  • การใช้บัตรเลือกตั้งปลอม การพิมพ์บัตรเลือกตั้งเกินกว่าจำนวนผู้มาใช้สิทธิ
  • การเปลี่ยนหีบบัตรในระหว่างการจัดส่งหีบบัตรมายังหน่วยนับคะแนน
  • การจงใจนับบัตรเลือกตั้ง อ่านบัตรเลือกตั้ง นับคะแนนเลือกตั้ง หรือรวมคะแนนเลือกตั้งผิดจากความจริง


การกระทำความผิดของบุคคลอื่นโดยทั่วไป

  • การจ่าย แจก เงินหรือสิ่งของ การจัดเลี้ยง (มาตรา 81)
  • เรียก รับ เพื่อลงคะแนน หรือไม่ลงคะแนน (มาตรา 82)
  • การขัดขวาง หน่วงเหนี่ยวผู้ใช้สิทธิ (มาตรา 80)

2. แนวทางการดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง


หลักการ

  • ต้องนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษให้ได้ตามที่กฎหมายบัญญัติอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน
  • เจ้าหน้าที่ต้องไม่มีอคติทั้ง 4 (คือ ชอบ ชัง กลัว โลภ) ในการดำเนินการกับผู้กระทำผิด
  • ต้องแสวงหาพยานหลักฐานที่เพียงพอต่อการพิสูจน์ความผิดของจำเลย อย่าให้มีข้อสงสัยว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่


อุปสรรค

  • ผู้กระทำผิดมักเป็นลูกน้อง หัวคะแนน พวกพ้อง หรือญาติพี่น้องของนักการเมืองซึ่งมีอิทธิพลในพื้นที่
  • มีเรื่องร้องเรียนแต่ละเขตเลือกตั้งเป็นจำนวนมาก ทำให้ระยะเวลาในการรวบรวมพยานหลักฐานแต่ละเรื่องมีน้อย
  • พยาน หลักฐานที่ชัดแจ้งแสดงถึงการกระทำผิด เช่น ภาพจากกล้องวิดีโอ ภาพถ่าย เทปบันทึกเสียง ฯลฯ มีน้อยไม่เพียงพอต่อการสนับสนุนเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน

3. วิธีการดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำผิด

  • กกต.ควรขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่นอกพื้นที่เพื่อทำหน้าที่เป็นชุดรับแจ้งเหตุ และจับกุมการกระทำความผิดในช่วงหาเสียงเพิ่มเติมนอกเหนือจากเจ้าหน้าที่ในพื้นที่
  • การสืบสวนอาจต้องใช้อาสาสมัครในการเก็บข้อมูลอย่างลับ ๆ และใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น กล้องวิดีโอ mp3 ที่บันทึกเสียงได้ เป็นต้น เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดี
  • การสอบสวน เจ้าหน้าที่ควรต้องสอบให้ถึงวัตถุประสงค์หรือมูลเหตุจูงใจในการกระทำผิดกฎหมายการเลือกตั้งอย่างชัดเจน เช่น การจัดเลี้ยง การบริจาคเงินหรือสิ่งของ โดยอ้างว่าเป็นไปตามวาระแห่งประเพณีนั้น ผู้ถูกกล่าวหาได้จัดงานหรือบริจาคเงินหรือสิ่งของเช่นนี้เรื่อยมาเป็นปกติ หรือไม่
  • การตั้งคำถาม และการสอบสวน ควรต้องให้ผู้ถูกกล่าวหานำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง
  • การสอบสวนผู้ถูกกล่าวหา ควรมีการบันทึกเทปวิดีโอไว้ด้วย เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในศาลที่แสดงถึงพฤติการณ์ของจำเลย เพื่อเพิ่มน้ำหนัก และความน่าเชื่อถือให้มากขึ้น ทั้งทำให้การกลับคำให้การทำได้ยากขึ้น
  • กกต.ควรกำหนดแนวทางและวิธีปฏิบัติในการตรวจสอบบัญชีค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง ให้ถูกต้องและเคร่งครัดยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันการใช้เงินในการเลือกตั้งมากเกินสมควร ซึ่งเป็นการเอาเปรียบผู้สมัครรายอื่น รวมทั้งจัดให้มีการฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่ของ กกต.อย่างทั่วถึงและเพียงพอ

อุดมการณ์ของเจ้าหน้าที่ กกต.

  • กกต.เป็นหัวใจที่จะประกันให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรม
  • เจ้าหน้าที่ กกต.จึงต้องเป็นกลาง มีเหตุผล และเป็นธรรม
  • การทำงานของ กกต.จึงเป็นการทำงานเพื่อชาติ เพื่อประชาชน ไม่ใช่เพื่อคนกลุ่มใด กลุ่มหนึ่ง

* กรรมการผู้จัดการ บริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด