การตัดสินคดี “มาบตาพุด” และ “แม่เมาะ”
ของศาลปกครองจังหวัดระยอง และศาลปกครองจังหวัดเชียงใหม่
เป็นเรื่องสำคัญยิ่งสำหรับการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม
และอาจจะเป็นก้าวแรกของการสร้างมาตรฐานการอยู่ร่วมกัน ระหว่างอุตสาหกรรมกับสังคมไทย
เพราะไม่ว่าจะมองอนาคตประเทศไทยอย่างไร ก็หนีไม่พ้นการมีอุตสาหกรรมเป็นภาคการผลิตใหญ่ของสังคม การสร้างมาตรฐานที่เหมาะสมในการอยู่ร่วมกัน
โดยที่อุตสาหกรรมไม่ทำร้ายผู้คนจึงเป็นสิ่งที่ต้องทำให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง
ผู้ถูกฟ้องในคดี “มาบตาพุด” คือ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงหลักอีกเก้ากระทรวงเป็นกรรมการ
และมีผู้ทรงอำนาจในการจัดการระบบเศรษฐกิจไทย ได้แก่
เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณเป็นกรรมการร่วมอยู่ด้วย
ความผิดของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้แก่
ละเลยไม่ประกาศให้พื้นที่ตำบลมาบตาพุด และเทศบาลเมืองมาบตาพุด
ตลอดจนพื้นที่ข้างเคียงที่มีปัญหาสิ่งแวดล้อมรุนแรงเป็นเขตควบคุมมลพิษ
เพื่อดำเนินการควบคุม ลด
และขจัดมลพิษตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.
2535
ที่น่าสนใจก็คือ
การที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติไม่ยอมประกาศดังกล่าวก็เพราะอ้างว่า
โรงงานอุตสาหกรรมเกือบทั้งหมดให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหามลพิษตามแผน
ปฏิบัติการลดและขจัดมลพิษ
ซึ่งศาลปกครองตัดสินว่าคณะกรรมการไม่มีอำนาจใช้ดุลยพินิจโดยอ้างเหตุผลดัง
กล่าว เพราะเป็นเรื่องรีบด่วนที่ต้องดำเนินการควบคุม ลด
และขจัดมลพิษโดยเร็วที่สุด
ที่สำคัญ
ศาลปกครองยังได้ยกรายละเอียดของความพยายามแก้ปัญหาของคณะกรรมการที่ให้ตั้ง
คณะกรรมการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาและแก้ไขปัญหา “หายนะ” ของพื้นที่
แต่คณะกรรมการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
กลับจัดหาเงินงบประมาณมาจากผู้ประกอบการในพื้นที่ (รวมทั้งรายได้ของ กอน.
ก็มาจากผู้ประกอบการในพื้นที่)
ดังนั้น
“ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ซึ่งเป็นผู้ออกเงินให้โครงการไม่เห็นด้วยในการประกาศ
ให้เป็นเขตควบคุมมลพิษเนื่องจากเกรงจะเสียภาพลักษณ์ว่าเป็นผู้ก่อมลพิษ
ย่อมเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ไม่มีการประกาศพื้นที่มาบตาพุดเป็นเขตควบคุม
มลพิษ” (ประชาไท 4/3/2552)
กรณีของเหมือง “แม่เมาะ” นั้น ศาลปกครองได้ตัดสินในประเด็นสำคัญ ได้แก่
การยอมรับว่าชาวบ้านเจ็บป่วยจากกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าจริง
ซึ่งทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ชาวบ้าน
และที่สำคัญอีกประการได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตไม่ได้ปฏิบัติตาม
ไม่ทำตามเงื่อนไขประทานบัตร และมาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม
การตัดสินยอมรับความเจ็บป่วยของชาวบ้านว่า
มาจากกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตนี้สำคัญมาก
เพราะเท่าที่ผ่านมา การบิดเบือนเรื่องความเจ็บป่วยของชาวบ้านมาโดยตลอด
รวมทั้งข้ออ้างว่าทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตได้มีเครื่องมือป้องกันมลพิษแล้ว
ซึ่งก็เป็นข้ออ้างที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง
การตัดสินของศาลปกครองทั้งสองคดีถือได้ว่ามีความสำคัญยิ่ง
เพราะความรุนแรงของผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมที่มีต่อชาวบ้านในพื้นที่และ
สังคมไทยเกิดขึ้นมานานมากแล้ว
พี่น้องที่มาบตาพุดและแม่เมาะเจ็บป่วยมาเนิ่นนาน แต่ความ “หายนะ”
ที่เกิดแก่ชีวิตชาวบ้านกลับถูกกลไกอำนาจรัฐเล่นกลเข้าข้างภาคการผลิต
อุตสาหกรรมมาโดยตลอด
การเล่นกลตบตาสังคมไทยในเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ผ่านมา
ก็เป็นเช่นเดียวกันเกมที่ กนอ. ได้เล่นในกรณี “มาบตาพุด” ก็คือ
การใช้เงินของผู้ก่อความเสียหายจ้างบริษัทเอกชนให้ทำรายงานผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและผลกระทบทางด้านสังคม
ซึ่งแน่นอนที่สุดว่าบรรดาบริษัทรับจ้างศึกษาผลกระทบทั้งหลาย
ก็ทำหน้าที่เป็น “มือปืนรับจ้าง”
ที่ศึกษาปัญหาทุกอย่างให้ออกมาว่าไม่มีปัญหาหรือทุกอย่างแก้ไขได้
(ตามที่กลุ่มบริษัทผู้ก่อความเสียหายต้องการ)
จนถึงท้ายที่สุด ก็คือ กลไกอำนาจรัฐที่ยอม “ซูเอี๋ย”
กับการผลิตภาคอุตสาหกรรมด้วยการใช้อำนาจวินิจฉัยที่เกิดขอบเขตของตน
ดังที่ศาลปกครองระยองได้ชี้ให้เห็นว่าคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
(ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน) ได้ทำในสิ่งที่ไม่ควรกระทำ
การตัดสินของศาลปกครองทั้งสองจังหวัด จะต้องได้รับการสานต่อจากสังคม
โดยจะต้องร่วมกันทำให้การใช้อำนาจการวินิจฉัยของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่ง
ชาตินั้นต้องถูกตรวจสอบโดยสังคม
การใช้อำนาจวินิจฉัยในเรื่องสิ่งแวดล้อมจะต้องประกาศต่อสาธารณะ
และต้องให้โอกาสและอำนาจแก่ชาวบ้านที่จะสามารถคัดค้านได้
การทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม
จะต้องให้เกิดการจัดการที่แม้ว่างบประมาณที่จะทำการประเมินผลกระทบนั้นจะมา
จากผู้ก่อความเสียหายก็ตาม
แต่งบประมาณนั้นจะต้องถูกส่งมายังคณะกรรมการที่เป็นกลางในการพิจารณาทั้ง
ระเบียบวิธีการประเมิน และผลการประเมิน
ตัดสายใยเชื่อมโยงระหว่างผู้ก่อความเสียหายกับบริษัทผู้รับจ้างทำรายงานประเมินผลกระทบ
ทั้งนี้ เพื่อบังคับให้บริษัท “มือปืนรับจ้าง”
ในการทำรายงานการประเมินผลกระทบนี้ต้องซื่อสัตย์กับความเป็นจริงและสัจจะทาง
วิชาการมากกว่าที่จะต้องยอมทำตามเจ้าของเงินงบประมาณอย่างที่ผ่านมา
ก้าวแรกของการดูแลปัญหาความ “หายนะ”
ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาอุตสาหกรรมจะเป็นก้าวแรกที่จะเดินต่อไปได้หรือจะ
สะดุดหกล้ม
ขึ้นอยู่กับสังคมจะช่วยกันกดดันคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติให้ยอมรับคำ
ตัดสินนี้หรือไม่
หากคณะกรรมการชุดนี้ยังคงอุทธรณ์ ก็หมายความว่าคณะกรรมการชุดนี้ไม่ได้มีเป้าหมายที่จะดูแลสิ่งแวดล้อมของสังคม
ไม่ว่าจะอ้างว่าต้องอุทธรณ์เพราะเป็นเรื่องของระบบหรืออ้างด้วยเหตุผลใดก็
ตาม ก็ตราหน้าไว้ได้เลยว่าไม่จริงใจต่อการแก้ไขปัญหาวิกฤติสิ่งแวดล้อม
สุดท้ายต้องขอขอบคุณพี่น้องมาบตาพุดและแม่เมาะที่ไม่ยอมแพ้แก่แรงกดดัน
นานัปการในช่วงเวลายาวนานที่ผ่านมา และต้องขอบคุณกลุ่มทนาย (คุณสุรชัย
ตรงงาม และทนายท่านอื่นๆ)
และทุกฝ่ายที่ได้ร่วมกันสร้างมาตรฐานที่งดงามแก่สังคมไทย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาลปกครองทั้งสองจังหวัด
หมายเหตุ – บทความนี้ ใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน
ที่มา – ออนโอเพ็น