Update!!!… 5 ข้อต้องรู้เพื่อเตรียมความพร้อมและรับมือกฎหมาย Transfer Pricing

 

Update!!!… 5 ข้อต้องรู้เพื่อเตรียมความพร้อมและรับมือกฎหมาย Transfer Pricing

 

เมษยา สีลาวรรณ
บริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด

 

สืบเนื่องการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรเกี่ยวกับมาตรการป้องกันการกำหนดราคาโอนระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน ( Transfer Pricing ) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีข้อกำหนดในการทำธุรกรรมระหว่างกันแตกต่างจากที่ควรกำหนดหากเป็นคู่ค้าอิสระ ในลักษณะถ่ายโอนกำไรระหว่างกัน ซึ่งมีผลใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป จึงต้องเตรียมความพร้อมและทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายดังกล่าวอย่างน้อย 5 หัวข้อดังนี้

1. Transfer Pricing

Transfer Pricing หมายถึง การที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันทำธุรกรรมระหว่างกันแตกต่างจากที่ควรกำหนดหากเป็นคู่ค้าอิสระ ในลักษณะถ่ายโอนกำไร หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เป็นกรณีการกำหนดราคาซื้อขายสินค้า หรือให้บริการที่แตกต่างไปจากราคาตลาดนั่นเอง

2. ลักษณะของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน[1]

มีลักษณะต่อไปนี้

3. หน้าที่ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน[2]

3.1 ยื่น Disclosure Form ซึ่งเป็นรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันและมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี เว้นแต่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีรายได้ไม่เกิน 200 ล้านบาทต่อปี

ยื่นเมื่อไหร่ ?

– ต้องยื่นต่อกรมสรรพากรภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี (ยื่นพร้อมแบบ ภ.ง.ด. 50) โดยจะเริ่มต้นยื่นครั้งแรกปี 2563 นี้

3.2 จัดเตรียมเอกสาร / หลักฐานสำหรับการวิเคราะห์ข้อกำหนดของธุรกรรมระหว่างกัน ตามที่อธิบดีกำหนด (ปัจจุบันยังไม่ประกาศ)

เพื่ออะไร ?

– เตรียมพร้อมสำหรับให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบเอกสาร / หลักฐานดังกล่าวได้ภายใน 5 ปีนับแต่ยื่น Disclosure Form

4. ใช้บังคับเมื่อไหร่

ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป

5. บทลงโทษ

ทางแพ่ง[3]

หากเจ้าพนักงานประเมินพบว่า มีข้อกำหนดในการทำธุรกรรมระหว่างกันแตกต่างจากที่ควรกำหนดหากเป็นคู่ค้าอิสระ (ไม่ใช่บริษัทในเครือเดียวกัน) ในลักษณะที่เชื่อได้ว่ามีการถ่ายโอนกำไร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจปรับปรุงรายได้และรายจ่าย ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล พร้อมกับต้องรับผิดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้

ทางอาญา[4]

หากไม่จัดทำรายงานหรือเอกสาร หรือจัดทำโดยแสดงข้อมูลไม่ถูกต้องครบถ้วนโดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท

รายละเอียดเพิ่มเติม
1. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 47)พ.ศ. 2561 ที่ https://bit.ly/2SmeuNm
2. Disclosure Form ที่ https://bit.ly/378Xaj1

 

หากท่านมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติมใด ๆ เกี่ยวกับกฎหมายภาษีอากร สามารถติดต่อได้ที่

บริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด
2/2 อาคารภักดี ชั้น 2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
หรือโทรศัพท์ติดต่อได้ที่ 0-2680-9751, 0-2680-9716
Email: maysayas@dlo.co.th

[1] มาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
[2] มาตรา 71 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
[3] มาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
[4] มาตรา 35 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร

บทความที่เกี่ยวข้อง