• ธรรมนิติ
  • /
  • ข่าว
  • /
  • “ปฏิญญาเชียงราย” : คุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม

“ปฏิญญาเชียงราย” : คุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม

วันที่ 30 ก.ค.52 วันสุดท้ายของการประชุมเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคอาเซียน (The
Next Wave of ASEAN Consumer Protection in Telecommunications)
ผู้แทนจากองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคจาก 8 ประเทศ ได้ร่วมกันประกาศ
ปฏิญญาเชียงรายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม

ทั้งนี้
การประชุมดังกล่าวจัดโดย สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.)
ร่วมกับสภาองค์กรผู้บริโภคอาเซียน (Southeast Asian Consumer Council –
SEACC) สหพันธ์ผู้บริโภคสากล (Consumer International)
และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) มีผู้เข้าร่วมจาก 8 ประเทศ ได้แก่

ไทย
ออสเตรเลีย ฮ่องกง อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ สเปน และไทย
จัดขึ้นระว่าง 28-30 ก.ค.
คู่ขนานกับการประชุมสภาหน่วยงานกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมอาเซียน ครั้งที่
15 ซึ่ง คณะกรรมการกำกับกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ของไทยเป็นเจ้าภาพ

สารี อ๋องสมหวัง ตัวแทนจากประเทศไทยระบุถึงเนื้อหาสำคัญของปฏิญญาว่า
ที่ประชุมเห็นว่า

1) โทรคมนาคมควรเป็นบริการพื้นฐานสำหรับทุกคน

2)
จะมีการศึกษาเพื่อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำ ในการคุ้มครองผู้บริโภคว่าเป็นอย่างไร

3) โดยเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคในอาเซียน จะทำงานร่วมกันภายในกลไกเดิม ไม่ว่า
SEACC หรือสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคสากล โดยกำหนดด้านโทรคมนาคมขึ้นมาเพิ่มเติมเป็นการเฉพาะ

4) จะมีการศึกษาวิจัยเปรียบเทียบระเบียบ
และการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศต่างๆ ของอาเซียน
โดยประเทศออสเตรเลียรับเป็นเจ้าภาพดำเนินการ

5)
กำหนดให้เครือข่ายองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคด้านโทรคมนาคม พบปะกันเป็นประจำทุก
ปีเพื่อติดตามสถานการณ์ ความก้าวหน้าและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน

6)
เรียกร้องให้ กทช. ของไทยและของประเทศต่างๆ ในอาเซียนสนับสนุนกิจกรรม
หรือการริเริ่มการทำงานด้านนี้

7)
เรียกร้องให้ผู้ประกอบการกิจการโทรคมนาคม ซึ่งเป็นธุรกิจข้ามชาติจำนวนมาก
ใช้มาตรฐานการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นมาตรฐานเดียวกันในทุกประเทศ
และแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR อย่างแท้จริง

สารี กล่าวด้วยว่า ในการพบปะกันของเครือข่ายผู้บริโภคอาเซียนในปีหน้า
จะมีการนำผลการศึกษา เปรียบเทียบความรับผิดชอบของบริษัทด้านโทรคมนาคมต่าง ๆ
มาจัดอันดับและเผยแพร่ต่อสาธารณะด้วย
เพื่อเป็นทางเลือกในการใช้บริการกับบริษัทที่มีมาตรฐานดี
ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค

เซียะ เซียง ชุน ตัวแทนจากประเทศสิงคโปร์ กล่าวว่า
การขับเคลื่อนนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้น
เพื่อรับมือกับการเปิดเสรีการค้าและบริการของภูมิภาคอาเซียน
ซึ่งเป็นการทำอาเซียนให้เป็นตลาดเดียวและกำลังจะเริ่มขึ้นในปีหน้า

เนื่องจากรัฐบาลมักมุ่งเน้นในด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก
แต่ขาดมิติของการคุ้มครองผู้บริโภค
การรวมตัวของเครือข่ายผู้บริโภคในอาเซียน จึงเป็นการทำงานเชิงรุกเพื่อจัด
ตั้งกลไกและสะสมความเข้มแข็งไว้ เพื่อปกป้องสิทธิของผู้บริโภคในอาเซียน

 

ปฏิญญาเชียงรายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (ประเทศไทย)

30 กรกฎาคม 2552

การบริการการสื่อสารเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับทุกคน
และควรมีมาตรการปกป้องผู้บริโภค
รวมถึงการส่งเสริมประโยชน์สาธารณะ ในฐานะที่เป็นสาธารณูปโภคที่มีความสำคัญจำ
เป็นสำหรับทุกคนในยุคปัจจุบัน

ใน ASEAN Economic Community Blueprint
ซึ่งรัฐบาลของประเทศสมาชิกได้ลงนามรับรองในปี 2550
ได้ตกลงร่วมกันที่จะให้การคุ้มครองผู้บริโภคนั้น ได้รับการจัดการแบบมี
ประชาชนเป็นศูนย์กลาง อย่างไรก็ดี
การคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมนั้น ยังห่างไกลคำว่าประชาชนเป็นศูนย์
กลางอยู่มาก

เรา ในนามขององค์กรผู้บริโภคจากสมาชิกในภูมิภาคอาเซียน
รวมไปถึงองค์กรผู้บริโภคจากออสเตรเลีย ฮ่องกง
ซึ่งได้ร่วมกัน จัดการประชุมเครือข่ายองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค ในกิจการโทร
คมนาคม (The Next Wave of ASEAN Consumer Protection in
Telecommunications) และมีความตระหนักร่วมกันถึงปัญหาที่ผู้บริโภคเผชิญ
เช่น การเข้าถึงถ้วนหน้า ความโปร่งใส
มาตรฐานด้านราคาที่เอื้อให้ทุกคนเข้าถึงได้ การตรวจสอบได้ของผู้ประกอบการ
ความยั่งยืน และผลกระทบด้านสุขภาพ

เราเห็นพ้องร่วมกันและขอประกาศว่า

1.จะต้องสร้างมาตรฐานในการคุ้มครองผู้บริโภค ในบริการโทรคมนาคมร่วมกัน
2.บริการโทรคมนาคม จะต้องได้รับการดูแลในฐานะบริการจำเป็นพื้นฐานและเป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้

ด้วยเหตุนี้เราจึงตกลงที่จะทำงานร่วมกันในมิติต่างๆ ต่อไปนี้
1.จะจัดให้มีการประชุมทุก ๆ ปีพร้อมกับการประชุมสภาหน่วยงานกำกับดูแลกิจการ
โทร คมนาคมอาเซียน (ATRC) เพื่อที่จะเรียนรู้และแบ่งปันประสบการณ์
ระหว่างประเทศสมาชิก
2.จัดตั้งคณะทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการ โทรคมนาคม
และเชื่อมโยงการทำงานกับองค์กรผู้บริโภคที่มีอยู่ เช่น
สภาองค์กรผู้บริโภคสากล (Southeast Asian Consumer Council)
และสหพันธ์ผู้บริโภคสากล (Consumers International)

เราขอเรียกร้องให้
1.องค์กรกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม ในกลุ่มประเทศอาเซียน ให้การสนับสนุนแนวคิดริเริ่มต่างๆ ที่ได้ประกาศไว้ในปฏิญญานี้
2.ผู้ให้บริการโทรคมนาคม มีการประกอบธุรกิจที่เป็นธรรม ต่อผู้บริโภคและดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม

 

ที่มาของภาพและข่าว ประชาไท