• ธรรมนิติ
  • /
  • ข่าว
  • /
  • สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับค่าวิจัยที่สามารถลงรายจ่ายได้ถึง 3 เท่า!

สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับค่าวิจัยที่สามารถลงรายจ่ายได้ถึง 3 เท่า!

พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 598) พ.ศ. 2559

 

กฎหมายฉบับนี้ออกมาเพื่อยกเว้นรายจ่ายสำหรับค่าจ้างเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี (เดิม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 297) พ.ศ.  2529 ลงรายจ่ายได้เพียง 2 เท่า) โดยให้สิทธิประโยชน์ ดังนี้

1.  ลงรายจ่าย 2 เท่า

ลงรายจ่ายเพิ่มได้อีก 1 เท่าของรายจ่ายที่จ่ายไป (เท่าที่ 2) สำหรับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้แก่หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนตามที่อธิบดีกำหนด (เดิม ใช้ประกาศกระทรวงการคลังเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 3, 4) ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดใหม่)

2. ลงรายจ่าย 3 เท่า!

ลงรายจ่ายได้เพิมขึ้นอีกเท่าจากข้อ 1.  (เท่าที่ 3) ภายใต้เงื่อนไขคือ จ่ายไปในช่วงวันที่ 1 มกราคม 2559 – 31 ธันวาคม 2532 และไม่เกินอัตราส่วนที่กำหนดตามเงื่อนไขดังนี้

2.1  ค่าวิจัยฯต้องไม่เกิน 60% ของรายได้ส่วนที่ไม่เกิน 50 ล้านบาท

2.2  ค่าวิจัยฯต้องไม่เกิน 9 % ของรายได้ส่วนที่เกิน 50 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 200 ล้านบาท

2.3  ค่าวิจัยฯต้องไม่เกิน 6% ของรายได้ส่วนที่เกิน 200 ล้านบาท

เมื่อคำนวณได้ผลรวมตาม 2.1-2.3 ได้แล้วให้นำมาหักรายจ่ายเท่าที่ 2 ออก หากยังมีเหลือสามารถนำมาถือเป็นรายจ่ายสำหรับเท่าที่ 3 ได้ไม่เกินกว่าค่าวิจัยที่ได้จ่ายไปจริง ทั้งนี้ ต้องเป็นรายจ่ายที่นำมาคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกัน และไม่ใช้สิทธิลงรายจ่ายนี้ซ้ำกับกิจการ BOI ซึ่งได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

ที่มา: กรมสรรพากร