เพิ่มโทษความรับผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากร

เพิ่มโทษความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับประมวลรัษฎากร

ตามที่มีพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 41) พ.ศ. 2559 ออกมานั้น ได้เพิ่มโทษทางอาญาที่เกี่ยวข้องกับประมวลรัษฎากร ดังนี้

1. กรณีไม่ยื่นเอกสารประกอบการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50[1] เช่น งบดุล บัญชีทำการ บัญชีกำไรขาดทุน บัญชีรายรับ-รายจ่าย เป็นต้น มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัย[2] ซึ่งเดิมทีไม่มีการกำหนดโทษไว้อย่างชัดเจน  (เป็นผลให้หากจะลงโทษผู้ไม่ยื่นเอกสารประกอบรายการต้องไปใช้มาตรการตามมาตรา 17 แห่งประมวลรัษฎากรกรเพื่อให้อธิบดีฯ มีคำสั่งแก่ผู้เสียภาษีก่อน จึงจะลงโทษกรณีไม่เอกสารประกอบการยื่นรายการได้)

ทั้งนี้ กรณีมีโทษเช่นเดียวกับการไม่ยื่นแบบแสดงรายการหรือเอกสารประกอบการยื่นรายการภายในเวลาที่กำหนด และการไม่ออกหนังสือรับรองหักภาษี หัก ณ ที่จ่าย

2 . กรณีหลีกเลี่ยงการเสียภาษีดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 – 200,000 บาท[3]

     2.1 การแจ้งข้อความเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดง ต้องมี “เจตนา” ที่จะกระทำการที่เป็นเท็จด้วย

     2.2 โดยความเท็จ โดยฉ้อโกงหรืออุบาย เพื่อขอคืนภาษี

 3. กรณีเจตนาละเลย ไม่ยื่นแบบแสดงรายการที่ต้องยื่น เพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ได้เพิ่มโทษให้หนักขึ้นเป็นระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ[4] (ซึ่งเดิมลงโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ)

 4. กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเท็จ โดยฉ้อโกงหรืออุบาย หรือโดยวิธีการอื่นใดทำนองเดียวกัน ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 – 200,000 บาท[5]

 



[1] มาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร

[2] มาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร

[3] มาตรา 37 แห่งประมวลรัษฎากร

[4] มาตรา 37 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

[5] มาตรา 90/4 (6) แห่งประมวลรัษฎากร

ที่มา: กรมสรรพากร