ยื่นฟ้อง 11 หน่วยงานรัฐบริหารน้ำผิดพลาด

ที่สำนักงานศาลปกครอง ถ.แจ้งวัฒนะ นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน
ในฐานะผู้ฟ้องคดีที่ 1 และผู้แทนผู้ฟ้องคดีจำนวน 352 คน
เดินทางมายื่นฟ้องหน่วยงานรัฐ 11 หน่วยงาน ที่จัดการน้ำที่ผิดพลาด ล้มเหลว
ไร้ประสิทธิภาพ จนส่งผลให้เกิดความเสียหายของประชาชนต่อศาลปกครองกลาง
แผนกคดีสิ่งแวดล้อม
เพื่อให้หน่วยงานทั้งหมดร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับประชาชนที่ได้
รับความเดือดร้อน โดยผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 11 หน่วยงานได้แก่ 1.นายกรัฐมนตรี
2.ผอ.ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.) 3.รมว.เกษตรและสหกรณ์
4.รมว.มหาดไทย 5.อธิบดีกรมชลประทาน 6.อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ  8.อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ
9.อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง 10.ผอ.ศูนย์เตือนภัยพิบัติเหตุชาติ และ
11.ผู้ว่าฯกทม.

 

นายศรีสุวรรณ กล่าวว่า
ทางสมาคมต่อต้านภาวะโลกร้อนได้รับการร้องเรียนจากประชาชนหลายจังหวัดที่ได้
รับผลกระทบจากการจัดการน้ำที่ผิดพลาดของรัฐบาล
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอด
อีกทั้งการชดเชยของรัฐบาลที่ผ่านมาไม่ได้ชดเชยตามจริง
ทางสมาคมจึงได้รวบรวมรายชื่อของประชาชนที่ได้รับความเดือนร้อนจำนวน  352 คน
ในเบื้องต้นมายื่นต่อศาลปกครองกลาง
ซึ่งหลังจากนี้คาดว่าจะมีการรวบรวมรายชื่อมายื่นเพิ่มเติมอีก
โดยการบริหารน้ำที่ผิดพลาดนี้กระทบกับสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.
2550 มาตรา 3 มาตรา 4 มาตรา 26 มาตรา30 มาตรา 32 มาตรา 41 มาตรา 56 มาตรา
57 มาตรา 58 มาตรา 61 มาตรา 66 และมาตรา 67
อีกทั้งยังเข้าข่ายละเลยต่อหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร
ในหลสายมาตรา ตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ นอกจากนี้ยังเข้าข่าย
เป็นกรณีพิพาทตามพ.ร.บ.จัดตั้งและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2552 มาตรา 9
ประกอบกับยังมีความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงตามพ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทา
สาธารณภัย พ.ศ. 2550 มาตรา 43 ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420
และยังมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ประกอบมาตรา 165 และมาตรา 59
วรรค 4
จึงให้หน่วยงานที่เป็นผู้ถูกฟ้องทั้งหมดร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้ที่
ได้รับผลกระทบ

 

นายศรีสุวรรณกล่าวว่า ในการฟ้องครั้งนี้ ได้กำหนดคำขอท้ายฟ้องใน 3 ข้อ
คือ 1.ขอให้ศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งหมด
รับผิดชอบต่อความเดือดร้อนและเสียหายต่อประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน
โดยการจ่ายเงินชดเชยค่าเสียหาย ให้แก่ผู้ฟ้องคดีตามความเป็นจริง
เป็นรายบุคคล
2.ขอให้ศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งหมดกำหนดมาตรการที่
เป็นรูปธรรมที่จะสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชนว่าจะสามารถป้องกันและแก้ไข
ปัญหาภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต
ภายใต้กระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน ทั้งนี้ให้ดำเนินการแล้วเสร็จภายใน
90วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษา
และ3.ขอให้นายกรัฐมนตรีสั่งการให้คณะรัฐมนตรีจัดตั้งกองทุนสวัสดิการเพื่อ
ฟื้นฟูเยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วม
โดยรัฐบาลเป็นผู้จัดสรรเงินงบประมาณปีละไม่ต่ำกว่า 2,00ล้านบาท
และเพิ่มขึ้นทุก 5 เปอร์เซ็นต์ของอัตราเงินเฟ้อ
โดยการบริหารต้องคำนึงผลประโยชน์ของประชาชนหรือตามที่ศาลเห็นสมควร

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ข่าวสด

Share